วันที่ 11 กรกฎาคม 2565 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา รองประธานกรรมการ ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด (ชสอ.) เข้าร่วมเสวนาในเวทีเสวนาแสดงความคิดเห็น “ประชาพิจารณ์ (ร่าง) กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 มุมมองของคนสหกรณ์ จะไปต่อ หรือพอแค่นี้?” โดยมี นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม ประธานกรรมการสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ดำเนินรายการ และผู้ร่วมเสวนาโดย นายไพบูลย์ แก้วเพทาย อดีตประธานกรรมการ ชสอ. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาภากร มินวงษ์ อดีตประธานกรรมการ ชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัด และนายสิรวิชญ์ ไพศาสตร์ ที่ปรึกษาสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย เพื่อวิพากษ์ รับฟัง รวบรวมความคิดเห็นของขบวนการสหกรณ์โดยเฉพาะสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนและสหกรณ์ออมทรัพย์ เกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (ร่างกฎกระทรวง การบริหารจัดการและการกำกับดูแลทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน พ.ศ..... ) เพื่อจะรวบรวมข้อสรุปให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 มิถุนายน นี้ และสรุปให้สำนักงานกฤษฎีกา หรือรัฐบาล หรือกระทรวงเกษตร ว่าคนในขบวนการสหกรณ์เห็นอย่างไร ตามขบวนการประชาธิปไตยของสหกรณ์ โดยมี ประเด็นการเสวนา ร่างกฎกระทรวงการบริการจัดการและการกำกับดูแลทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนียน พ.ศ.... และผลกระทบต่อการดำเนินงานของสหกรณ์และสมาชิก ดังนี้
1. การกำหนดให้สหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน พ.ศ.... สามารถให้กู้เงินและให้สินเชื่อต้องสอดคล้องกับการบริหารการจัดการทางการเงินของสหกรณ์
2. การรับฝากเงิน การก่อหนี้ และการสร้างภาระผูกพันซึ่งรวมถึงการกู้ยืมเงินหรือการค้ำประกันให้มีความเหมาะสม รัดกุม สอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจของสหกรณ์ และต้องมีสภาพคล่องเพียงพอและดำรงสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้อย่างรวดเร็ว โดยที่มูลค่าไม่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญเพื่อรองรับ การไหลเข้าและไหลออกของกระแสเงินสด
3. การจัดชั้นลูกหนี้เงินกู้และการให้สินเชื่อหรือสินทรัพย์ให้สะท้อนถึงความสามารถในการชำระหนี้อย่างแท้จริงและการกันเงินสำรอง และสามารถจำกัดปริมาณการทำธุรกรรมกับลูกหนี้และเจ้าหนี้รายใดรายหนึ่ง เพื่อเป็นการป้องกันการกระจุกตัวของความเสี่ยงไม่ให้สูงจนเกินไปและสอดคล้องกับการบริหาร
โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนาทั้งแบบออนไลน์และออนไซต์ จำนวนกว่า 250 คน ณ ศูนย์้การประชุมรัชนีแจ่มจรัส สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ถนนพิชัย กรุงเทพฯ